บางเรื่องมินิมอลบ้างก็ได้ โคเลสเตอรอล ยิ่งน้อยยิ่งดี ลดง่ายๆ ด้วยนมถั่วเหลือง

ภาวะคอเลสเตอรอลสูง ปัญหาสุขภาพที่ส่วนใหญ่จะพบในวัยผู้ใหญ่ เพราะเมื่อไหร่ที่เจ้าคอเลสเตอรอลมีมากเกินไป ถึงแม้จะไม่ออกอาการให้เห็นโดยตรง  แต่นำไปสู่ความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคและภาวะต่างๆได้

เพราะเมื่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง จะฝังและเกาะผนังหลอดเลือดแดงจนเลือดไม่สามารถเดินทางได้สะดวกจำกัดการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจ สมองและส่วนอื่นๆของร่างกาย อาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆเช่น โรคสมองหรือหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ หัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง 

ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาที่เราสามารถทำได้ไม่ยาก อย่างการรับประทานอาหารเพื่อลดระดับคอเลสเตอรอล เพียงแค่เราหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลไม่ดีและคอเลสเตอรอลสูง

โดยโคเลสเตอรอลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
คอเลสเตอรอลดี (HDL) ที่มาจากน้ำมันกอก หรือปลาทะเล
คอเลสเตอรอลไม่ดี (LDL) ที่มาจากไขมันสัตว์ ได้แก่ เนื้อแดง เนื้อติดมัน อาหารทอด กุ้ง ปลาหมึก

และอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงหรือไขมันทรานส์ ได้แก่ ไขมันอิ่มตัวในเนื้อสัตว์ นมวัว ผลิตภัณฑ์จากนมวัวเช่น เนย ครีม ชีส รวมถึงอาหารสำเร็จรูปส่วนใหญ่เช่น ไส้กรอก ฟาสต์ฟู้ด ขนมถุงต่างๆ

ทั้งนี้ อาหารที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลไม่ดี(LDL) ก็อยู่ใกลัตัวคุณเช่นกัน ได้แก่ ถั่วและธัญพืช ผลไม้หวานน้อย ข้าวกล้อง ขนมปังที่ไม่ผ่านการขัดสี ผักใบเขียว ผลไม้หวานน้อย หอม กระเทียม เป็นต้น

หรือจะลองตัวเลือกง่ายๆอย่างนมถั่วเหลืองแคลเซียมสูงดู โดยเลือกที่มีส่วนผสมของแคลเซียมซิเตรท เพราะจะสามารถดูดซึมได้ดีแม้ในขณะท้องว่าง และในนมถั่วเหลืองยัง มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดีต่อหัวใจ ไม่มีคอเลสเตอรอลและย่อยง่าย  แถมโปรตีนในถั่วเหลืองยังทำหน้าที่โดยตรงในการลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีกับสุขภาพ หรือ LDL Cholesterol และลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ตลอดจนยับยั้งการเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ครั้งต่อไปที่ทานอาหารลองมองดูดีๆ ว่ามีเจ้าคอเลสเตอรอลตัวร้ายแอบแฝงอยู่ในเมนูสุขภาพของคุณหรือไม่ สุขภาพของเราป้องกันไว้ก่อนดีกว่ารักษาในภายหลังอย่างแน่นอน

 

ที่มา :  http://www.soyconnection.com/soy_foods/ nutritional_composition.php

กินอย่างไรไม่อ้วน ไม่มีโรค ศัลยา คงสมบูรณ์เวช พิมพ์ครั้งที่ 10 Amarin Health

Soy Protein and Cardiovascular Disease

         A Statement for Healthcare Professionals From the Nutrition Committee of the AHA, John W. Erdman Jr, PhD; 

TAG: คอเลสเตอรอล

เนื้อหา ณ วันที่ Jan 14 2019